วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

แนวทางการนิเทศภายใน

แนวทางการนิเทศภายในโรงเรียน
การนิเทศการศึกษา
         เป็นกระบวนการทำงานร่วมกันของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ได้มาซึ่งสัมฤทธิ์ผลสูงสุดในการเรียนรู้ของนักเรียน
จุดม่งหมายของการนิเทศ
          1. เพื่อพัฒนาคนและบุคลากรทางการศึกษา
          2. เพื่อพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้
          3. เพื่อการสร้างความสัมพันธ์
          4. เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ
หลักการสำคัญของการนิเทศการศึกษา
            1. การนิเทศการศึกษาเป็นกระบวนการ (การทำงานเป็นขั้นตอน/มีความต่อเนื่อง/เป็นระบบ/ไม่หยุดนิ่ง/มีปฏิสัมพันธ์) ทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ
           2. เป้าหมายสูงสุดอยู่ที่คุณภาพและผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของนักเรียน
           3. เน้นบรรยากาศ ที่เป็นประชาธิปไตย
การนิเทศภายในสถานศึกษา
            เป็นความพยายามทุกวิถีทางของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ในอันที่จะปรับปรุง แก้ไข พัฒนาประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในโรงเรียนให้มีมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานของหลักสูตร มาตรฐานการศึกษาชาติเพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเพิ่มพลังและศักยภาพในการปฏิบัติงานของวิชาชีพครู รวมทั้งส่งเสริมให้ครูมีความก้าวหน้าในวิชาชีพและผลสุดท้าย คือ การเรียนรู้ของนักเรียนเป็นไปอย่างต่าอเนื่อง ที่ก้าวหน้าและพัฒนาแบบยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพ
            การนิเทศภายในสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาต้องนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินงานในหน้าที่ผู้บริหารสถานศึกษา คือ งานวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไป โดยเฉพาะงานวิชาการ ถือเป็นงานหลักหรือภารกิจหลักของสถานศึกษาที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่มุ่งกระจายอำนาจในการบริหารจัดการไปให้สถานศึกษาให้มากที่สุด ด้วยเจตนารมณ์  ที่จะให้สถานศึกษา ดเนินการได้โดยอิสระ คล่องตัว รวดเร็ว สอดลค้องกับความต้องการของผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชน ท้องุ่น และการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้สถานศึกษามีความเข้มแข็ง ในการบริหารและการจัดการ สามารถพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนการวัดผล ประเมินผล รวมทั้งการวัดปัจจัย เกท้อหนุนการพัฒนาคุณภาพนักเรียน ชุมชน ท้องถิ่น ได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ โดยการบริหารงานวิชาการ จะมีขอบข่าย/ภารกิจ ดังต่อไปนี้
            1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
            2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้
            3) การวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน
           4) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
           5) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
           6) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้
           7) การนิเทศการศึกษา
           8) การแนะแนวการศึกษา
           9) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
           10) การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน
           11) การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น
           12) การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการ แก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา
องค์ประกอบของการนิเทศภายในสถานศึกษา
             1. บุคลากรนิเทศ  ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ  หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้  คณะนิเทศการจัดกระบวนการเรียนรู้ และครูผู้สอน ซึ่งจะเป็นตัวจักรสำคัญในการนิเทศการศึกาและทำหน้าที่เป็นผู้นิเทศการศึกษาด้ว
             2. วิธีการนิเทศ
                 2.1 กำหนดจุดมุ่งหมายการนิเทศ  ที่ส่งเสริมการปฏิบัติงานและความร่วมมือในการทำงานของครูและคณะ ส่งเสริมให้ครูรักงานวิชาการ ทำงานวิชาการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เคารพในหลักการและเหตุผล พยายามปรับปรุงคุณภาพของงาน และช่วยเหลือให้ครูปฏิบัติงานได้สะดวก มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ มีเวลาปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                2.2 กำหนดวิธีการหาข้อมูล  ศึกษาปัญหาอุปสรรค และประเด็นที่ต้องพัฒนา ได้แก่ การเข้าเยี่ยมชั้นเรียน การสังเกต ปรึกษาหารือ ประเมินผลงานทางวิชาการของโรงเรียน
                2.3 กำหนดวิธีหรือกิจกรรมการนิเทศ โดยพิจารณาเลือกวิธีการหรือกิจกรรมต่อไปนี้ตามความเหมาะสมได้แก่ การปฐมนิเทศ การสาธิตการจัดกระบวนการเรียนรู้ การประชุม การอบรม
             3. เครื่องมือที่ใช้ในการนิเทศ ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสำรวจ แบบสังเกต แบบบันทึกพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกบรรยากาศในชั้นเรียน และเอกสารอ้างอิง
 การนิเทศการจัดกระบวนการเรียนรู้  
          การนิเทศการจัดกระบวนการเรียนรู้ จะต้องตั้งอยู่บนหลักแห่งมนุษยสัมพันธ์ การนิเทศการจัดกระบวนการเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของนิเทศการศึกษา แม้ว่าจะจำกัดลงมาแล้วว่าเป็นการนิเทศการจัดกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับครูโดยตรงแล้วก็ตาม แต่ยังเป็นกิจกรรมการนิเทศที่ผสมผสานกันทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
           กระบวนการนิเทศ
                       กระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา ประกอบด้วย การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรคและความต้องการ การวางแผน ดำเนินการตามแผน การสร้างสื่อเครื่องมือและพัฒนาวิธีการนิเทศ ติดตามและประเมินผลรายงานตามลำดับ ตามลำดับดังนี้
                       1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ
                       2) การวางแผนและกำหนดทางเลือก
                       3) การสร้างสื่อ นวัตกรรมและเครื่อมือ
                       4) การปฏิบัติการนิเทศภายในสถานศึกษา
                       5) การประเมินผลและรายงานผล
              การนิเทศการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียน
                       การนิเทศการจัดกระบวนการเรียนรู้  เป็น การช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก แนะนำ ชี้แจง บริการ ร่วมมือ ปรับปรุง แก้ไข พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ครู ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไขและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งจะต้องอาศัยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การมีส่วนร่วมและร่วมมือซึ่งกันและกันแบบกัลยาณมิตรระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ
               ความสำคัญและความจำเป็นของการนิเทศการจัดกระบวนการเรียนรู้
                        1) ลดภาระของครูผู้สอนทำให้มีเวลาค้นคว้า ทดลอง วิจัยวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ใหม่ ๆ
                        2) ช่วยพิจารณาความเหมาะสมของงานให้ถูกต้องกับความสามารถและศักยภาพของครู และช่วยให้ครูวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้
                        3) ช่วยส่งเสริมขวัญและกำลังใจของคณะครูให้อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อปฏิบัตืงานต่าง ๆ ในสถานศึกษาร่วมกันเป็นทีม
                        4) ช่วยประเมินผลงานการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครู โดยอาศัยความเจริญงอกงามของนักเรียนเป็นสำคัญ
                         5) ปัจจุบันหน้าที่ของครูผู้สอนเปลี่ยนไปจากเดิม ครูต้องเป็นผู้แนะนำและต้องทำหน้าที่หลายอย่าง
                         6) เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครู
                         7) ครูต้องมีความรู้และความก้าวหน้าทางวิชาการใหม่ ๆ เสมอ
                         8) ขนาดของสถานศึกษาใหญ่ขึ้น ครูมีกิจกรรมและคาบการจัดกระบวนการเรียนรู้มากขึ้นหน้าที่นิเทศจึงมากขึ้นเช่นกัน
               กระบวนการจัดกระบวนการเรียนในชั้นเรียน
                          1) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้นิเทศกับครูผู้สอน
                          2) การวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้และการสร้างเครื่องมือ
                          3) การสังเกตพฤติกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้
                          4) การวิเคราะห์พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน
                           5) การปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนรู้
               บทบาทของผู้นิเทศในการจัดกระบวนการเรียนรู้
                          1) ศึกษานิเทศก์
                               1.1 ร่วมวางแผนกับครูเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามนโยบายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา วางโครงการดำเนินงานให้บรรลุ โดยทำหน้าที่ปรึกษาและแนะนำการขจัดปัญหาของครูแต่ละคน
                                1.2 ร่วมมือด้านบริหารช่วยในการตัดสินใมจดำเนินการและแนวทางการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา กระบวนการจัดการเรียนรู้
                                1.3 จัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ครูแสวงหาวิชาการใหม่ ๆ และนำมาปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนรู้   
                                1.4 เสนอแนะพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา โดยช่วยคณะครูตั้งจุดประสงค์ของกระบวนการเรียนรู้ ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ เลือกประสบการณ์ ที่มีคุณค่าให้แก่ครู เลือกวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อการเรียนรู้ ที่เหมาะสมและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                                1.5 จัดการเกี่ยวกับการสาธิต วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้  การใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
                                1.6 มีส่วนร่วมในการวัดผลและประเมินผลการศึกษา รวมทั้งวิจัยในชั้นเรียน เพื่อปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ให้ดีขึ้น
                            2) ผู้บริหารสถานศึกษา
                                  2.1 ปฐมนิเทศครูใหม่
                                  2.2 จัดประชุมก่อนเปิดภาคเรียน
                                  2.3 สังเกตการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียน
                                  2.4 เยี่ยมชั้นเรียน
                                  2.5 สาะตการจัดกระบวนการเรียนรู้
                                  2.6 นิเทศเป็นรายบุคคลหรือหมู่คณะ
                                  2.7 อบรมครู
                                  2.8 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ
                                  2.9 สัมมนาครู
                                  2.10 จัดหาหนัวสือที่ดีมีคุณค่าให้ห้องสมุด
                                  2.11 จัดหา สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ให้แก่ครู
                                  2.12 สนับสนุนให้ครูไปศึกษาเพิ่มเติมระหว่างปิดภาคเรียน
                         3) หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือคณะนิเทศการจัดกระบวนการเรียนรู้และรองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ    
                                  3.1 ช่วยส่งเสริม สนับสนุน อำนวยความสะดวกในการปฐมนิเทศครูใหม่
                                  3.2 แนะนำ ส่งเสริม สนับสนุน ให้ครูได้เจิรญงอกงามในวิชาชีพครู การสร้างผลงานทางวิชาการ
                                   3.3 ช่วยจัดโปรแกรมการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ สำหรับครูที่ประสบความล้มเหลวในการจัดกระบวนการเรียนรู้ 
                                   3.4 จัดตัวอย่างการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ดี ที่ประสบผลสำเร็จของกลุ่มสาระการเรียนรู้ ของตน เพื่อที่จะนำไปสาธิต ให้ครูที่มาขอคำปรึกษาหารือด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เป็นของตนเอง
                             4) ครูที่ปรึกษา หรือครูประจำชั้นและครูผู้สอนที่มีความชำนาญหรือเชี่ยวชาญ
                                     4.1 นิเทศการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้กับเพื่อนครูด้วยกันโดยปรึกษาหารือ ร่วมมือและคอยชี้แนะ เพื่อปรับปรุงในสิ่งที่ยังมีปัญหา ไม่ชัดเจน หรือช่วยครูผู้สอนที่มีประสบการณ์น้อยกว่าให้เป็นครูที่ดีมีคุณภาพในอนาคต
                                     4.2 นิเทศการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้แก่ผู้เรียน โดยให้คำปรึกษา ชี้แนะช่วยเหลือสนับสนุน ปรับปรุง และจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุขและสนุกการกับการเรียนรู้
       กระบวนการนิเทศการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียน
                ขั้นตอนที่ 1 การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้นิเทศกับครูผู้รับการนิเทศ ในลักษณะของ "ผู้ร่วมวิชาชีพครู" นั่นคือจะต้องยอมรับ ศรัทธา เลื่อมใส เสมอภาค จริงจัง จริงใจ โดยมีสายใยความสัมพันธ์ร่วมกันคือ การเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพหรือผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักเรียนเป็นสำคัญ
               ขั้นตอนที่ 2 การปรึกษาหารือและเตรียมแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้  ที่มุ่งเน้น
                    2.1 การจัดเนื้อสาระและกิจกรรมที่สอดคล้องกับกับความสนใจและความถนัดของนักเรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
                    2.2 ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้ มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
                   2.3 จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ ให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
                   2.4 จัดการเรียนการสอน โดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกรายวิชา
                    2.5 ส่งเสริมสนับสนุน ให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและนักเรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
                    2.6 จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
                     เทคนิคการประชุมก่อนการสังเกตการจัดกระบวงนการเรียนรู้
                     1) ชี้แนะถึงความกังวลของครูเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้
                     2) การแปลและคลี่คลายความกังวลไปสู่พฤติกรรมที่เฉพาะเจาะจงสามารถสังเกตได้
                     3) ระบุวิธีการปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนรู้
                     4) ช่วยเหลือครูตั้งจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงและพัฒนาตนเอง
                     5) เลือกเวลา สังเกตการจัดกระบวนการเรียนรู้
                     6) เลือกเครื่องมือและพฤติกรรมที่จะบันทึก
                     7) ทำความกระจ่างเกี่ยวกับลักษณะของบทเรียนและการจัดกระบวนการเรียนรู้ (นิพนธ์ ไทยพานิช 2531)
                ขั้นตอนที่ 3 การสังเกตการจัดกระบวนการเรียนรู้  เทคนิคบางประการในการสังเกตการจัดกระบวนการเรียนรู้  โดย
                                  3.1  สังเกตความต่อเนื่องของปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน นักเรียนกับครูและนักเรียนกับนักเรียน
                                  3.2 พยายามค้นหาแบบฉบับของพฤติกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้
                                  3.3 แสวงหาหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
                                  3.4 ค้นหาและสรุปให้ได้ว่าพฤติกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ชุดใดเด่นชัด มีคุณภาพ ประสบผลสำเร็จหรือประสบความล้มเหลว
                                  3.5 บันมึกสิ่งที่เกิดขึ้น โดยใช้มาตรการในการวัดและประเมิน (นิพนธ์ ไทยพานิช 2531)
                ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์พฤติกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน  เป็นขั้นการเสนอข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้รับการนิเทศ พฤติกรรมของนักเรียนและบรรยากาศในชั้นเรียนที่เกิดขึ้น ขณะดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้ครูผู้รับการนิเทศทราบ ทั้งครูผู้รับการนิเทศกับผู้รับการนิเทศจะร่วมกันวิเคราะห์ ว่าพฤติกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ใดเด่นและพฤติกรรมใดน้อย พะฤติกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ใดมีปัญหา ก็ควรร่วมมือกันหาทางปรับปรุงหรือพัฒนาให้ดีขึ้น
                                      เทคนิคการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feed Back) คือ เป็นการวิธีการนำเสนอข้อมูลอย่างมีระบบซึ่งเที่ยงตรง แม่นยำไม่มีอคติ ที่ได้จากการสังเกตในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้ครูผู้รับการนิเทศได้รับทราบ ดังนี้
                                      เทคนิคที่ 1 ให้ข้อมูลป้อนกลับต่อครู โดยการใช้ข้อมูลที่มีระบบจากการสังเกตการจัดกระบวนการเรียนรู้
                                      เทคนิคที่ 2 การซักถามถึงความรู้สึก ความคิดเห็นและการแสดงออกของครูผู้รับการนิเทศเกี่ยวกับข้อมูล
                                     เทคนิคที่ 3 สนับสนุนให้ครูผู้รับการนิเทศพิจารณาทางเลือกใหม่ เกี่ยวกับจุดหมายของบทเรียนวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้
                                     พฤติกรรมการนิเทศทางตรง  ได้แก่ การแนะนำ การออกคำสั่ง และการติชม
                                     พฤติกรรมการนิเทศทางอ้อม  ได้แก่ การรับฟัง (การฟังอย่างมีประสิทธิภาพ ของ นิพนธ์ ไทยพานิช  ประกอบด้วย มีจุดประสงสงค์ในนการฟัง ฟังให้รอบคอบเข้าใจความหมาย จับประเด็นสำคัญ เรียบเรียงข้อความเพื่อพูดซ้ำ ใช้คำถามเพื่อให้เข้าใจตรงกัน มีความพร้อมที่จะพูดตอบสนอง ทำจิตว่างปราศจากอคติ มีความพร้อมที่จะพูดตอบสนอง มีความอดทน ฟังโดยสมาธิ และฟังโยใช้เวลาเพียงพอที่จะคิด)  การใช้คำถามเพื่อช่วยคลี่คลายคำพูดของครูให้ชัดเจนขึ้น การส่งเสริมสนับสนุนให้แสดงออก การให้มีความกล้า การเสนอแนะ การสนับสนุน และการให้ขวัญและกำลังใจ
                                      จากผลการวิจัย พบว่า ครูผู้รับการนิเทศพึงพอใจพฤติกรรมการนิเทศทางอ้อม
             ขั้นตอนที่ 5 การปรับปรุงและพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้    โดยร่วมหาวิธีการแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนา
       ลักษณะของการตรวจประสิทธิภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้
            1) ตรวจสอบความรู้ของนักเรียนก่อนการจัดกระบวนการเรียนรู้
            2) แปลคาวมหมายและตีความหมายจากการตรวจสอบ โดยใช้ค่าสถิติ 3 ชนิด คือ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิการกระจาย (C.V.) 
            3) ครูดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้ ตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้กับผู้นิเทศ
            4) ตรวจสอบความรู้ของนักเรียนหลักการเรียนรู้
            5) เปรียบเทียบผลการตรวจสอบความรู้ของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้  ดังนี้
                 5.1 คะแนนเฉลี่ย จะบอกให้ทราบว่าสัมฤทธิผลของนักเรียนที่ได้จากการจัดกระบวนการเรียนรู้นั้นเป็นอย่างไร ยิ่งคะแนนเฉลี่ยหลังการเรียนรู้สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการเรียนรู้มากเท่าใด ก็แสดงว่า สัมฤทธิผลของการจัดกระบวนการเรียนรู้สูงมากเท่านั้น
                 5.2 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จะบอกให้ทราบถึงลักษณะการกระจายของคะแนนนักเรียนภายในกลุ่มว่ามีมากน้อยเพียงใด ถ้ามีการกระจายมาก แสดงว่าคะแนนนักเรียนภายในกลุ่มนั้นมีความแตกต่างกันมาก นั่นคือนักเรียนที่เรียนเก่งจะได้คะแนนสูงมาก นักเรียนที่เรียนอ่อนจะได้คะแนนต่ำ สิ่งที่ต้องการ คือ ค่าเบี่ยงเบนมีค่าน้อยที่สุด เพื่อแสดงว่านักเรียนที่เก่งและอ่อนจะได้คะแนนไม่แตกต่างกัน  ถ้าคะแนนเฉลี่ยหลังการเรียนรู้สูงขึ้นโดบค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังการเรียนรู้มีค่าเท่าเดิมหรือใกล้เคียงกับก่อนการเรียนรู้ แสดงว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูได้ช่วยให้นักเรียนทุกคนมีความรู้สูงขึ้นเท่า ๆ กัน แต่ยังไม่ถือว่า มีคุณภาพ ถ้าคะแนนเฉลี่ยหลังการเรียนรู้สูงขึ้น โดยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังการเรียนรู้มีค่ามากกว่าก่อนการเรียนรู้ แสดงว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูเป็นไปอย่างปล่อยปละละเลย เด็กเก่งยิ่งเก่งมากขึ้น นักเรียนอ่อนยิ่งอ่อนมากขึ้น ถือว่าคุณภาพต่ำ แต่ถ้าคะแนนเฉลี่ยหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนรู้ โดยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังการเรียนรู้มีค่าลดลง แสดงว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูดี มีประสิทธิภาพในการช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคน ได้รับความรู้ ความสามารถสูงสุด ของแต่ละคน ซึ่งนับว่า เป็นวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
                 5.3 ค่าสัมประสิทธิการกระจาย จะบอกให้ทราบว่า กลุ่มผู้เรียนมีการกระจายคิดเป็นร้อยละเท่าใด ซึ่งการจะตัดสินว่าคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูว่ามีประสิทธิภาพนั้น จะถือเกณฑ์ว่า ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายมีค่าน้อยกว่าร้อยละ 15  ซึ่งคำนวนได้จาก (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน/คะแนนเฉลี่ย) X 100
                 จาก 5.1-5.3 สรุปได้ว่า  คุณภาพของการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูที่มีประสิทธิภาพ หรือไม่นั้นให้ครูดูที่
                 (1) ตะแนนเฉลี่ยสูงจากเดิมมากน้อยเพียงใด
                 (2) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ลดลงจากเดิมหรือไม่
                 (3) ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย ต่ำกว่าร้อยละ 15 หรือไม่

กัลยาณมิตรนิเทศ
       กรอบแนวคิด    แนวคิดที่เป็นพื้นฐานของรูปแบบกัลายาณมิตรนิเทศ คือ หลักธรรมความเป็นกัลยาณมิตรของพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย ได้แก่ ความมีน้ำใจ การร่วมทุกข์ร่วมสุข การช่วยเหลือเกื้อกูล แนะแนวทางที่ถูกต้อง ด้วยการยอมรับนับถือและให้เกียรติซึ่งกันและกัน
        หลักการ  การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่ได้ผลนั้น เริ่มต้นจากศัรทธาที่ครูมีความตั้งใจที่จะไปปรับปรุงวิธีการสอนของตนเอง ผู้บริหารและศึกษานิเทศก์เป็นบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมแนะแนววิธีการต่าง ๆ ด้านการเรียนการสอน ทั้งนี้หากได้แรงหนุนอีกด้านหนึ่ง คือ การแนะนำช่วยเหลือ ให้แบบอย่าง จากเพื่อนครู ด้วยกันในรูปแบบกัลยาณมิตรนิเทศ ก็จะช่วยเป็นพลังผลักดันให้ครูได้ตระหนักและมองเห็นขั้นตอนการสอนที่เป็นจริง ชัดเจน สามารถนำไปประยุกใช้ในชั้นเรียนของตนได้ดีขึ้น
         รูปแบบกัลยาณมิตรนิเทศ        เป็นการชี้แนะและช่วยเหลือด้านการเรียนการสอนในกลุ่มเพื่อนครูด้วยกัน มีหลักการนิเทศที่เน้นประเด็นสำคัญ 4 ประการ คือ
         1) การสร้างศรัทธา ผู้นิเทศจะต้องสร้างศรัทธา เพื่อให้เพื่อนครูยอมรับและเกิดความสนใจที่จะใฝ่รู้ที ใฝ่ปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนรู้
         2) การสาธิตรูปแบบการสอน  ผู้ให้การนิเทศจะต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้นสามารถปกฏิบัติและทำได้จริงๆ  และเพื่อนครูสามารถนำรูปแบบไปประยุกต์ในชั้นเรียนได้
        3) การร่วมคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ จะต้องมีการพบปะกันอย่างสม่ำเสมอ มีการร่วมคิดแก้ปัญหาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งกันและกัน
        4) การติดตามประเมินผลตลอดกระบวนการ ผู้นิเทศจะต้องบันทึกการนิเทศอย่างสม่ำเสมอ สังเกตและรับฟังข้อมูลป้อนกลับจากเพื่อนครูผู้รับการนิเทศ ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไข เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ขึ้นใหม่อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องสืบไป
         สรุป รุปแบบกัลยาณมิตรนิเทศ เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้
                 1) เปิดใจ ผู้รับการนิเทศจะต้องทบทวนการวัดและประเมินผลตนเอง ประเมินผลงาน ประเมินโยกัลยาณมิตรและประเมินพัฒนาการเรียนรู้
                 2) ให้ใจ  ผู้นิเทศจะต้องจัดให้มีการปฐมนิเทศ เพื่อสร้างสายใยแห่งความสัมพันธ์ เพื่อ แจ้งจุดมุ่งหมาย จัดเวลาและกำหนดแผนงาน
                 3) ร่วมใจ ทั้งผูนิเทศและผู้รับการนิเทศจะต้องร่วมคิดร่วมทำ โดยผู้นิเทศอาจจะแนะนำ สาธิต เป็นแบบอย่าง ให้ฝึกทำแผนการสอน ฝึกสร้างสื่อการเรียนการสอน วิจัยในชั้นเรียน และเรียนรู้การวัดและประเมินผล
                 4) ตั้งใจ สร้างสรรค์คุณภาพ (ผู้นิเทศทดลองปฏิบัติจริง  ปรึกษาหา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดต่อสื่อสาร เยี่ยมเยียน ช่วยกันแก้ปัญหาและให้กำลังใจ
                 5) เงื่อนไข ในการนิเทศแบบกัลยาณมิตรนั้น ผู้นิเทศจะต้องไม่มุ่งด้านปริมาณ แต่จะต้องสานพลังอาสา เสวนาร่วมกัน สร้างความเป็นมิตร ฝึกคิดมุ่งมั่น ปฏิบัติทุกวัน และบันทึกแนวทาง (สุมน อมรวิวัฒน์  2545, 217-220)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น